วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

การใช้กริยา sein

sein (ซาย) เป็นคำกริยาที่จำเป็นที่สุดในภาษาเยอรมัน 
เทียบได้กับ is / am / are ในภาษาอังกฤษ 
และความหมายของกริยาคำนี้ => เป็น / อยู่ / คือ

เมื่อเราเริ่มเรียนภาษาเยอรมัน ธรรมชาติของภาษานี้คือการ "ผัน"
สำหรับเราซึ่งเป็นคนไทย เรามีการผันในเรื่องของเสียง  เพราะเรามีเสียงวรรณยุกต์ทั้งหมด 5 เสียง ถ้าให้ชาวต่างชาติมาเรียนภาษาไทย สิ่งที่ยากที่สุดในการเริ่มเรียน คือ เสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยเรานั่นเอง 

วันนี้อยากให้เราได้เรียนรู้ว่า ประธานแต่ละตัวในภาษาเยอรมัน จะตามด้วยคำกริยาที่แตกต่างกัน

อย่าเพิ่งท้อครับ ท่องไว้ให้ขึ้นใจ "มันยาก แต่เดี๋ยวก็จะชิน"
การก้าวข้ามจุดนี้ไป ไม่สนุกแน่นอน 
วิธีที่เราจะไม่รู้สึกว่ามันยาก คือการมีประโยคในใจเอาไว้เป็นแบบอย่างสัก 1 ประโยค เพื่อให้เราจดจำว่า กริยา sein นั้นผันตามประธานอย่างไร

สำหรับผม ผมชอบคำว่า "อายุน้อย" ซึ่งภาษาเยอรมันคือคำว่า "jung" (ยุง) เป็นคำคุณศัพท์เหมือนคำว่า ใหญ่ เล็ก อ้วน กลม ทำนองนั้นนะครับ

ทีนี้เลือกคำคุณศัพท์ตามผมก่อนก็ได้ เพราะใคร ๆ ก็อยากบอกว่าตัวเองยังเด็กกันทั้งนั้น อิอิอิ



เรื่องที่ 1 การสร้างประโยคบอกเล่า

ประโยคบอกเล่าในภาษาเยอรมันจะมีโครงสร้างเหมือนกับภาษาไทยคือ 

ประธาน    +        กริยา           +      ส่วนขยาย

สำหรับกริยา sein โครงสร้างที่จะพูดคำว่า ฉันยังเด็ก เป็นดังนี้ครับ


Ich            +       bin               +     jung.


ข้อสังเกตนะครับ ประธานเปลี่ยน กริยา sein ก็จะเปลี่ยนครับ
อันนี้ท่องเอาเองนะ ท่องก่อน แล้วค่อยใช้บ่อย ๆ เดี๋ยวจะชินปากแล้วเก่งเองครับ

ดูตารางข้างล่างนะครับ แล้วตอบคำถาม



SINGULAR
ich อิคชฺ
bin บิน
du ดู
bist บิ๊สทฺ
er  แอร์
sie ซี
es เอ็ส
ist อิ๊สทฺ
PLURAL
wir เวีย
sind ซินทฺ
ihr เอีย
seid ไซดฺ
sie ซี
sind ซินทฺ
Sie ซี
sind ซินทฺ



















1. ตารางในส่วนที่เป็น singular หมายถึงประธานแบบไหน

2. ตารางในส่วนที่เป็น plural หมายถึงประธานแบบไหน

3. ประธานคำไหน แปลว่า หล่อน แล้ว กริยา sein ที่ตามหลังคำว่าหล่อนคือคำว่าอะไร

4. ประธานตัวไหนอีกบ้างที่ใช้คำกริยา sein เหมือนกับคำว่าหล่อน

5. ถ้าจะบอกว่า เขายังเด็ก จะพูดว่าอย่างไร


เรื่องที่ 2 การสร้างประโยคคำถามแบบ ใช่หรือไม่ (Ja-nein Fragen)

ตอบคำถามเสร็จแล้ว มาต่อด้วยการสร้างประโยคคำถามแบบ ใช่หรือไม่ (Ja-nein Fragen)

ภาษาเยอรมันสร้างประโยคคำถามแบบนีได้ง่ายกว่าภาษาอังกฤษนะครับ เพราะภาษาอังกฤษต้องมีกริยาช่วยมาขึ้นต้นประโยคคำถาม แต่ในภาษาเยอรมัน ไม่ต้องมีกริยาช่วยครับ

ให้เอากริยามาอยู่ในตำแหน่งที่ 1 ตามด้วยประธาน แล้วตามด้วยส่วนขยายอื่น ๆ ทั้งหมด


จากประโยคบอกเล่า         Du   bist   jung. (เธออายุน้อย)

ประโยคคำถามที่จะถามว่า เธออายุน้อยใช่มั้ย 

ก็จะเป็น                             Bist du jung?


ลองมาทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมดูนะ

1. ประธาน du กับ ihr ต่างกันอย่างไร

2. ถ้าจะพูดว่า เขาตัวใหญ่ (ใช้กริยา sein) จะพูดว่าอย่างไร

3. ถ้าจะพูดว่า เขาตัวใหญ่มั้ย จะพูดว่าอย่างไร

4. ประโยคในรูปข้างล่าง แปลว่าอะไร






ผู้เรียนสามารถหาความรู้เพิ่มเติมจาก website หรือ youtube ได้ครับ

แล้วเจอกันในเรื่องต่อ ๆ ไปครับ





อ. รภัสศักย์  เหตุทอง




























วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

Oral Communication Assessment Criteria

การสอบพูดวิชาภาษาเยอรมัน

ในการสอบสนทนาแต่ละครั้ง จะมีเกณฑ์การให้คะแนน ตามไฟล์รูปที่แนบมานะครับ

ใช้สำหรับการสอบเป็นคู่  และการสอบคราวละ 3-4 คน ซึ่งครูจะแจกแบบให้คะแนนก่อนวันสอบจริงอย่างน้อย 1 สัปดาห์ครับ