นี่แหละวิธีการสอนแบบนี้ เริ่มคุ้นแล้วล่ะสิ
วิธีนี้อาจจะเรียกว่า Aural-Oral Method หรือ Michigan Method
เกิดขึ้นหลังยุค Direct Method ในช่วง ค.ศ. 1960s ถึง 1970s
เป็นการ recycle วิธีการสอนแบบ Grammar-Translation ผสมกับแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง ในยุคนั้นแนวคิดพฤติกรรมนิยมมีอิทธิพลต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก ภาษาจึงถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Language is a conditioned behavior)
การเรียนรู้ภาษาเป็นความสามารถของมนุษย์ (และคล้ายกับหนู สุนัขหรือแมว)
มนุษย์จะสร้างพฤติกรรมใหม่ (habit formation) การเรียนภาษาก็เหมือนกัน
เริ่มจากครูจะกระตุ้นให้นักเรียนอ่านออกเสียงหรือพูดตาม ซ้ำ ๆ (repetitive drills) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการอธิบายไวยากรณ์มากนัก แต่กฏเกณฑ์และหลักไวยากรณ์ (grammars) จะถูกซึมซับผ่านการฝึกพูด "โครงสร้างของวลีหรือประโยค" (structures) มากพอที่จะสร้างพฤติกรรมตอบสนองได้ ครูมีหน้าที่ในการสร้างรูปแบบประโยค นักเรียนก็ตอบสนองโดยการอ่านตามหรือทำซ้ำไปซ้ำมา ขณะเดียวกัน ครูเน้นการให้แรงเสริมเชิงบวก (positive reinforcement) เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้โครงสร้างของประโยค ในที่สุดเด็กก็จะพูดโต้ตอบได้ (ตอบสนองจากเงื่อนไขที่ครูเป็นคนกระตุ้นนั่นเอง
จุดเด่น
1. ครูจะให้ผู้เรียนฝึกฟังและพูดรูปแบบประโยคที่ถูกต้อง ฝึกซ้ำ ๆ
2. เป็นวิธีที่ทำให้ผู้เรียนจำรูปแบบบทสนทนาได้เร็วที่สุดในช่วงเวลาสั้น ๆ
ข้อจำกัด
1. เด็กจะจำรูปแบบ ไม่ได้คิดต่อยอดอะไร ไม่มีการสร้างสรรค์ทางภาษา
2. เด็กบางคนไม่ชอบการท่องจำ อาจทำให้ครูต้องใช้กลวิธีต่าง ๆ ในการสร้างแรงจูงใจ
3. เด็กจะสนทนาโต้ตอบไม่ได้ สื่อสารในสถานการณ์จริงไม่ได้
4. สามารถใช้สำหรับการเรียนในระดับเริ่มต้น แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียนที่สื่อสารได้แล้ว
บรรณานุกรม
Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York: Longman
Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching 2nd. Oxford: Oxford University Press.
Richards, J., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น