เข้ามาแทนที่วิธีการสอนแบบ Grammar Translation Method ในช่วงปี ค.ศ. 1890s ถึง 1960s เนื่องจากการสอนภาษาให้ความสำคัญกับการฟัง-พูดมากขึ้นกว่าในยุคแรก ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาที่ต้องการสอนเท่านั้น วิชาที่สอนจะเป็นวิชาที่สามารถอธิบายด้วยภาพ แผนที่ หรือสื่อจริง โดยในระหว่างที่ครูสอนครูจะพยายามถามคำถามทั้งแบบ open-ended และ close-ended ในแต่ละเนื้อหาย่อย ๆ เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ ครูจะให้นักเรียนออกเสียงคำใหม่และคำที่นักเรียนออกเสียงผิดอยู่
หากนักเรียนสงสัยและตั้งคำถามครูจะใช้วิธีการพูดอธิบายด้วยประโยคง่าย ๆ หรือการวาดรูป แสดงท่าทาง แต่จะไม่มีการแปลเป็นภาษาแม่ของผู้เรียน นักเรียนจะโต้ตอบครูด้วยภาษาที่เรียนอยู่เท่านั้น ดังนั้นการสื่อสารในห้องเรียนจึงมีมากกว่าวิธีไวยากรณ์-การแปล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กิจกรรมการเรียนรู้จะเป็นการเขียนตามคำบอก การเขียน paragraph เกี่ยวกับสิ่งที่เรียน หรือการเติมคำในช่องว่าง
จุดเด่น
1. ความสามารถในการพูดภาษาได้สำคัญกว่าการรู้กฎเกณฑ์/ไวยากรณ์
2. การแก้คำผิดของครูจะใช้วิธีแบบอ้อม ๆ เช่น การอ่านประโยคที่ผิดซ้ำด้วยการขึ้นเสียงสูง เป็นการให้เด็กรู้เอง สังเกตเอง (self-correct)
3. ครูจะไม่อธิบายหลักไวยากรณ์ นักเรียนจะซึมซับจากตัวอย่างประโยคที่เรียนเอง
ยุคต่อมาคือ Audiolingual Method คร้าบบบ
ยุคต่อมาคือ Audiolingual Method คร้าบบบ
บรรณานุกรม
Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York: Longman
Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching 2nd. Oxford: Oxford University Press.
Richards, J., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press
ถ้าสอนแบบนี้ได้นี่เยี่ยมเลยครู
ตอบลบครับ ประมาณว่า ครูต้องเก่ง และพยายามมาก ๆ
ตอบลบ