วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Restaurant Service 1




1. คำศัพท์วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนอังกฤษ
2. ฝึกสะกดคำเกี่ยวกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่เสิร์ฟในร้านอาหาร (ได้ยินคำว่าอะไร ก็สะกดให้ถูกต้องนะครับ)
3. English as a second language ESL/EFL: Conversations at a Restaurant, Interactive Mind Map แบบว่ามีหลายสถานการณ์มาก ๆ เลยครับ (จัดไป) ฝึกกันให้เต็มที่เลยนะครับ


4. Learning by Recipes or Cooking Instructions
4.1 Recipes for English learning - Chicken Kiev

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Preposition of Time (quiz)

Prepositions for Time บุพบทใช้กับเวลา ทำดูนะครับ (ลากคลุมเพื่อดูเฉลย)
1. We visited London _____ 1978.
(in)
2. Daeng will be here _____ six o'clock.
(at)
3. He was born _____  August.
(in)
4. She'll be back _____  Monday.
(on)
5. There are a lot of things to see _____ Christmas day.
(on)
6. There were riots in Bermingham ______  2011.
(in)
7. They arrived in Phuket _____ October.
(in)
8. I love to go shopping _____ Christmas time.
(at)
9. Do you wake up _____ night?
(at)
10. What do you like doing _____ Fridays?
(on)
11. He's talking with her boss _____ the moment.
(at)
12. I lived in China _____ the 2000s.
(in)
13. I'll see you _____ a few months.
(in)
14. We like to exercise _____ the evening.
(in)
15. My birthday is _____ December 21st.
(on)

Audiolingual Method

เคยจำคำที่อาจารย์ของเราพูดบ่อย ๆ มั้ยครับ คำว่า "Repeat after me" (รีพี้ทฺ อ๊าฟเตอ มี)


นี่แหละวิธีการสอนแบบนี้ เริ่มคุ้นแล้วล่ะสิ


วิธีนี้อาจจะเรียกว่า Aural-Oral Method หรือ Michigan Method


เกิดขึ้นหลังยุค Direct Method ในช่วง ค.ศ. 1960s ถึง 1970s 




เป็นการ recycle วิธีการสอนแบบ Grammar-Translation ผสมกับแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง ในยุคนั้นแนวคิดพฤติกรรมนิยมมีอิทธิพลต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก ภาษาจึงถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Language is a conditioned behavior)


การเรียนรู้ภาษาเป็นความสามารถของมนุษย์ (และคล้ายกับหนู สุนัขหรือแมว) 


มนุษย์จะสร้างพฤติกรรมใหม่ (habit formation) การเรียนภาษาก็เหมือนกัน
เริ่มจากครูจะกระตุ้นให้นักเรียนอ่านออกเสียงหรือพูดตาม ซ้ำ ๆ (repetitive drills) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการอธิบายไวยากรณ์มากนัก แต่กฏเกณฑ์และหลักไวยากรณ์ (grammars) จะถูกซึมซับผ่านการฝึกพูด "โครงสร้างของวลีหรือประโยค" (structures) มากพอที่จะสร้างพฤติกรรมตอบสนองได้ ครูมีหน้าที่ในการสร้างรูปแบบประโยค นักเรียนก็ตอบสนองโดยการอ่านตามหรือทำซ้ำไปซ้ำมา ขณะเดียวกัน ครูเน้นการให้แรงเสริมเชิงบวก (positive reinforcement) เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้โครงสร้างของประโยค ในที่สุดเด็กก็จะพูดโต้ตอบได้ (ตอบสนองจากเงื่อนไขที่ครูเป็นคนกระตุ้นนั่นเอง








จุดเด่น
1. ครูจะให้ผู้เรียนฝึกฟังและพูดรูปแบบประโยคที่ถูกต้อง ฝึกซ้ำ ๆ
2. เป็นวิธีที่ทำให้ผู้เรียนจำรูปแบบบทสนทนาได้เร็วที่สุดในช่วงเวลาสั้น ๆ


ข้อจำกัด
1. เด็กจะจำรูปแบบ ไม่ได้คิดต่อยอดอะไร ไม่มีการสร้างสรรค์ทางภาษา
2. เด็กบางคนไม่ชอบการท่องจำ อาจทำให้ครูต้องใช้กลวิธีต่าง ๆ ในการสร้างแรงจูงใจ
3. เด็กจะสนทนาโต้ตอบไม่ได้ สื่อสารในสถานการณ์จริงไม่ได้
4. สามารถใช้สำหรับการเรียนในระดับเริ่มต้น แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียนที่สื่อสารได้แล้ว

 
บรรณานุกรม
Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York: Longman 


Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching 2nd. Oxford: Oxford University Press.


Richards, J., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press


Direct Method

เข้ามาแทนที่วิธีการสอนแบบ Grammar Translation Method ในช่วงปี ค.ศ. 1890s ถึง 1960s เนื่องจากการสอนภาษาให้ความสำคัญกับการฟัง-พูดมากขึ้นกว่าในยุคแรก ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาที่ต้องการสอนเท่านั้น วิชาที่สอนจะเป็นวิชาที่สามารถอธิบายด้วยภาพ แผนที่ หรือสื่อจริง โดยในระหว่างที่ครูสอนครูจะพยายามถามคำถามทั้งแบบ open-ended และ close-ended ในแต่ละเนื้อหาย่อย ๆ เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ ครูจะให้นักเรียนออกเสียงคำใหม่และคำที่นักเรียนออกเสียงผิดอยู่


หากนักเรียนสงสัยและตั้งคำถามครูจะใช้วิธีการพูดอธิบายด้วยประโยคง่าย ๆ หรือการวาดรูป แสดงท่าทาง แต่จะไม่มีการแปลเป็นภาษาแม่ของผู้เรียน นักเรียนจะโต้ตอบครูด้วยภาษาที่เรียนอยู่เท่านั้น ดังนั้นการสื่อสารในห้องเรียนจึงมีมากกว่าวิธีไวยากรณ์-การแปล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กิจกรรมการเรียนรู้จะเป็นการเขียนตามคำบอก การเขียน paragraph เกี่ยวกับสิ่งที่เรียน หรือการเติมคำในช่องว่าง 

จุดเด่น
1. ความสามารถในการพูดภาษาได้สำคัญกว่าการรู้กฎเกณฑ์/ไวยากรณ์ 
2. การแก้คำผิดของครูจะใช้วิธีแบบอ้อม ๆ เช่น การอ่านประโยคที่ผิดซ้ำด้วยการขึ้นเสียงสูง เป็นการให้เด็กรู้เอง สังเกตเอง (self-correct) 
3. ครูจะไม่อธิบายหลักไวยากรณ์ นักเรียนจะซึมซับจากตัวอย่างประโยคที่เรียนเอง






ยุคต่อมาคือ Audiolingual Method คร้าบบบ



บรรณานุกรม
Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York: Longman 

Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching 2nd. Oxford: Oxford University Press.

Richards, J., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Grammar Translation Method

1.การสอนภาษาแบบไวยากรณ์-การแปล (Grammar Translation) หรือเรียกอีกอย่างว่า Classical Method หรือ Traditional Method ซึ่งเป็นวิธีสอนภาษาในยุคโบราณ (แต่ถือว่ายังไม่ตกยุค เพราะครูหรืออาจารย์ที่สอนภาษาหลายท่าน ยังคงใช้อยู่สำหรับสอนวิชาที่ต้องมีการแปลเนื้อหา) วิธีการสอนแบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากในช่วงที่ยุโรปมีความต้องการที่จะฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุคตั้งแต่ (Renaissance) เป็นช่วงที่คนในสมัยนั้นเชื่อว่าการเป็นปัญญาชน (Intellect) ผู้เรียนจะต้องบ่มเพาะจากการซาบซึ้งและเข้าใจวรรณคดี นำแง่มุมจากวรรณคดีมาพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นวรรณคดีส่วนใหญ่ซึ่งเป็นภาษากรีกและลาติน (classical languages) แม้กระทั่งวรรณคดีเด่น ๆ ในภาษาอื่น ๆ จึงถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอน วิธีการสอนแบบนี้ไม่ได้ตั้งใจให้ผู้เรียนเรียนฝึกพูดภาษานั้น ๆ แต่ต้องการให้แปลออกมาเป็นภาษาตนเองได้อย่างแม่นยำ (accuracy) และหาคำที่ใกล้เคียงกับภาษาแม่มากที่สุด ครูจะใช้ภาษาแม่เป็นหลักในการจัดเรียนการสอน ในแต่ละครั้งที่มีการเรียน ครูจะรู้อยู่ในใจแล้วว่าในบทอ่านแต่ละครั้ง ไวยากรณ์/กฎและข้อยกเว้น//รูปแบบประโยค ลักษณะไหนที่นักเรียนจะต้องรู้ (ไวยากรณ์ไม่ได้แบ่งเป็น unit เหมือนที่เราเรียนในแบบวิธี CLT) ครูจะใช้แบบฝึก/ใบความรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทอ่านหรือวรรณกรรมที่ต้องแปล มีการทดสอบไวยากรณ์และความเข้าใจความหมายของบทอ่าน

ลักษณะเด่น
1. ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ ”วัฒนธรรมการสอนภาษา” หรือ “วิธีสอนภาษา”
2. ผู้เรียนจะพัฒนาทักษะทางภาษาเพียง 3 ทักษะคือ การอ่าน การเขียน และ คำศัพท์  สุดท้ายบทบาทของผู้เรียนคือการท่องจำ
3. ครูวัดผลโดยการวัดในระดับความจำ ความเข้าใจ ซึ่งครอบคลุมคำศัพท์ กฎเกณฑ์ทางภาษา/ไวยากรณ์ และการแปลออกมาเป็นภาษาของตนเองได้อย่างถูกต้อง ได้ใจความตามภาษาเดิมให้มากที่สุด
4. ครูเป็นศูนย์กลาง นักเรียนเป็นผู้รับฟัง จดและจำคำศัพท์ หลักไวยากรณ์
5. ผู้เรียนมีความสามารถด้านไวยากรณ์เป็นหลัก (grammatical competence เท่านั้น)

ข้อจำกัด
1. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าภาษาคือการเรียนรู้ไวยากรณ์หรือกฏเกณฑ์เพียงอย่างเดียว การใช้ภาษาไม่ใช้สิ่งสำคัญ
2. ผู้เรียนไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนกับการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงได้ เนื่องจากสามารถเรียนรู้หน่วยคำ ความหมาย และประโยคเท่านั้น ไม่มีแม้การฝึกพูดประโยคนั้นซ้ำ ๆ(ซึ่งมีใน Audiolingual Method) ผู้เรียนขาดทักษะการออกเสียงที่ถูกต้อง (ครูออกเสียงไม่ถูกต้องก็สอนภาษาได้) การใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ และความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรมของภาษา


ยุคหลังจากนี้ คือ Direct Method จร้า 

อ่าน แปล ตอบคำถาม


บรรณานุกรม
Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York: Longman 

Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching 2nd. Oxford: Oxford University Press.

Richards, J., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press