เอา...ลองดูของตัวเอง ว่าตรงมั้ยนะ
วันอาทิตย์
นิสัยของคนเกิดวันอาทิตย์
คนเกิดวันอาทิตย์มักมีวาสนาดี จึงมักมีดวงชะตาที่ดี มีบุญมีวาสนา ดีดวง ส่วนใหญ่แล้วจะมียศมีศักดิ์ ฐานะดี มี ทรัพย์มีบริวารมาก แต่เป็นคนทำคุณใครไม่ขึ้นอย่างดีก็เสมอตัว แต่ทำดีแล้วเป็นบุญ เพราะคนเกิดวันอาทิตย์ ดวงชะตาตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ มักมีคนเกื้อกูลส่งเสริมเสมอ
อุปนิสัย
เป็นคนใจกว้าง มีน้ำใจไมตรีกับเพื่อฝูงเสมอ ใจนักเลง กล้าได้กล้าเสีย มีเงินมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย ยามตกต่ำ ก็ไม่หวั่นไหว มีความทะเยอทะยานสูง มีความเป็นผู้นำ เชื่อมั่นในตัวเองสูง รักอิสระ มีอุดมการณ์ มีคุณธรรม ประจำใจ ปัญญาดี อ่อนไหว ใจร้อน รักศักดิ์ศรี รักเกียติ มาก
เกิดตอนเช้า ต้องดิ้นรนอยู่เสมอ ต้องสู้ด้วยความอดทน และ ทำงานจึงจะก้าวได้อย่างมีเกียติ
เกิดตอนกลางคืน มักเป็นคนสุภาพดี หาญกล้า เชื่อมั่นในตัวเอง ตัดสินใจเร็ว ปราดเปรียว มีคุณธรรม แต่บางคน ใช้เงินเก่งมีเท่าใดหมด ใจเด็ดเดี่ยว
วันจันทร์
นิสัยของคนเกิดวันจันทร์
คนเกิดวันจันทร์ คนเกิดปีนี้มีเสน่ห์ เป็นศรีแก่ตัวเอง ยามที่ตกทุกข์ มักจะมีคนมาช่วยเหลืออยู่เสมอวาสนาดี
นิสัยคนเกิดวันจันทร์
มีความอ่อนหวานอ่อนโยน พูดจาโน้มน้าวให้คนประทับใจได้ดี อารมณ์แปรปรวนง่าย แม้อ่อนโยน แต่โมโหร้าย แต่ก็หายได้เร็ว รสนิยม ดีทั้งด้านการแต่ง กายและ ด้านอื่น ๆ เป็นคนเจ้าระเบียบ แต่รู้จักคิด มีความรอบคอบ สุขุม และ มีความประนีประนอมนุ่มนวลไม่ก้าวร้าว เป็นคนใฝ่ความรู้ มีปัญญาดี ในฝักใฝ่การบุญสุนทาน รักครอบครัว มุ่งมั่นอดทน ช่างคิดฝัน หวั่นไหวง่ายแต่ก็เข้มแข็ง สุขภาพไม่ค่อยดี มักเจ็บป่วย จนวันกลางคนล่วงไป แล้วอาการป่วยจะดีขึ้น หมั่นทำบุญ ทำทาน โรคภัยต่างๆจะหาย และเบาบางลง
แต่คนเกิดวันจันทร์ชะตาชีวิตมีอยู่ 2 กรณี
1. เกิดข้างขึ้น ดวงชะตาจะยิ่งรุ่งโรจน์สดใส วาสนาดีมาก
2. เกิดข้างแรม จะอาภัพคู่ วาสนาน้อยกว่าข้างขึ้น
วันอังคาร
นิสัยคนกิดวันอังคาร
ดวงชะตามักโลดโผน และ มักมีประสบการณ์มาก ในชีวิต มักจะมีเกียรติยศ
อุปนิสัย
จิตใจกล้าแกร่ง ไม่หวาดเกรงใคร เป็น นักต่อสู้ ใจนักรบ โมโหร้าย ใจร้อนวู่วามไม่ยอมคน ชอบมีเรื่องขัดแย้ง ใฝ่การเรียนรู้นอกตำรา มานะบากบั่น ชอบเสี่ยง อดทนดี ดื้อดึง เชื่อแต่ความคิดตนเองเป็นใหญ่ ดุดัน ตัดสินใจ เร็ว เป็นคนตรง ขวานผ่า ซาก จริตมายา ไม่เป็น ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่ชอบอยู่นิ่ง เฉย ขยันบากบั่น แต่ชอบงานสบาย
หากคนเกิดวันอังคารเป็นผู้ชายจะมีวาสนาดีกว่าผู้หญิงวันอังคาร และถ้าชายหรือหญิงที่เกิดวันอังคารนั้น เกิดใน เดือนเมษายน หรือเดือน พฤศจิกายน จะมีความคิดสร้างสรรค์โดดเด่นมาก แต่สุขภาพ ไม่ค่อยดีนัก และจะมี ความอดทนมากกว่าคนวันอังคารในเดือนอื่นๆ
วันพุธกลางวัน
นิสัยคนเกิดวันพุธกลางวัน
มีดวงชะตาสดใส เจริญก้าวหน้าได้เพราะมีปัญญาดีไม่ค่อยตก ระกำลำบากนักเพราะเอาตัวรอดได้ดีเสมอ
อุปนิสัย
เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี ชอบการติดต่อเจรจา มีศิลปะ ในการพูดที่ผู้คนยอมรับ เหมาะ ที่จะทำการค้าขาย หรือ ธุรกิจต่าง ๆ มากกว่ารับราชการ มีสติปัญญาดี มีความฉลาดเฉลียว แต่ความจำไม่ ค่อยดี ชอบลืม เป็นคนปรับตัว เก่ง รักธรรมชาติ ไม่อวดเก่ง เป็นคนนอบน้อมดี รู้จักกาลเทศะ ชอบการศึกษาหาความรู้ อ่านใจคนเก่ง มีฝีมือเชิงประดิษฐ์ เป็นคนเจ้าชู้ หลายใจ เก็บเงินไม่อยู่ ถ้าเก็บอยู่ มักมีเรื่องให้ใช้จ่ายหมดไป ความคิดไม่อยู่นิ่ง เปลี่ยนตามอารมณ์ เป็นคนขี้เบื่อง่าย ทนได้ไม่นาน
ส่วนถ้าคนวันพุธ เกิดเดือนมิถุนายน จะเป็นคนพูดหวาน คารมดีมาก เป็นพิเศษ แต่ถ้าเกิดเดือนกันยายน จะไม่ ค่อยรอบคอบนัก แต่ก็มีปัญญาดี ไหวพริบดี แต่ถ้าเกิดในวันพุธที่มีดาวไม่ดีมาทำให้เสียดวงก็ จะเป็นคนพูดจา มีมายามีเล่ห์เหลี่ยม ไม่จริง ใจ ชอบการโกหก เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
วันพุธกลางคืน
นิสัยคนเกิดวันพุธกลางคืน
คนเกิดวันพุธกลางคืนมักมีชะตาอาภัพ แม้มีบุญวาสนาดี เจริญ ก้าวหน้าได้ดีเพียงใดก็มักพบอุปสรรคปัญหาบ่อย ๆ มี เคราะห์ร้ายบ่อย ๆ วิธีแก้ หมั่นทำบุญปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นประจำ
อุปนิสัย
มีจิตใจห้าวหาญ ก้าวร้าว กล้าสู้กล้าเสี่ยง ใจนักเลง ถ้าไม่ฝักใฝ่ทางธรรม ยึดถือคุณธรรม ก็จะไปในทางอบายมุข อย่างหมกมุ่น เป็นคนชอบความสงบ ไม่ชอบวุ่นวายกับใคร สติปัญญาดีเลิศ แต่เป็นคนที่งมงาย ยากที่จะเปลี่ยน ความคิดได้เอง แต่เชื่อคนคอยยุยง หรือพร่ำชี้แนะ ไม่ค่อยใฝ่หาความรู้ เก็บเงินไมได้นาน เป็นคนอวดรู้ คิดเล็กคิดน้อย คิดการณ์ไม่ยาวไกล มักเห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตน ไม่ซื่อตรง นักหากเกิดวันพุธกลางคืนในเดือนกุมภาพันธ์ จะมีฐานะดี มีคนสนับสนุน ส่งเสริมเสมอ แต่เป็นคนที่เจ้าชู้มาก มีความรูดี แต่ชอบเอาเปรียบคนอื่น
วันพฤหัสบดี
นิสัยคนเกิดวันพฤหัสบดี
คนเกิดวันพฤหัสบดีนี้เป็นคนมีบุญ มีดวงชะตาดี มีเกียรติ มีคนเคารพนับถือมาก แต่มักมีปัญหาเรื่องคู่ครอง หรือ ไม่ก็อาภัพคู่
อุปนิสัย
เป็นคนชอบการศึกษาเล่าเรียน ชอบธรรมะ เป็นคนเจ้าระเบียบ เป็นคนเข้มงวด มีจิตใจเอื้ออาทรต่อคนรอบข้าง รักสงบ ชอบความมั่นคง ยึกถือความถูกต้อง เที่ยงธรรม เด็ดเดี่ยว แต่กลัวการเปลี่ยนแปลง มีสัมผัสพิเศษ หรือ ญาณ หยั่งรู้ล่วงหน้า ชอบเรื่องเร้นลับ เป็นคนเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน พูดจริงทำจริง แต่เป็น คนขี้ใจน้อย ยึด มั่นในขนบธรรมเนียม ประเพณี โกรธแล้วใจร้ายใจแข็ง ช่างคิดช่างระแวง แต่ทำอะไรรอบคอบ
คนเกิดวันพฤหัสบดีถ้าเกิดตรงกับ เดือน ปี เสียแล้วก็จะมีนิสัย เป็นคนที่ดีแต่ภายนอก จิตใจไม่ดี มักอวดอ้างความสามารถ ไม่ค่อยมีวินัยในตนเอง ถ้าเกิดวัน พฤหัสบดี ใน เดือน ธันวาคม และมกราคม เป็นคนใจร้อน แต่จะมี ความรู้ความสามารถ ในด้านวิชาการสูง ถ้า เกิดเดือนมีนาคม จะเชี่ยวชาญทาง ศาสตร์ลึกลับ จะได้ดีในทาง ศาสนา และเป็นคนใจเย็นทำอะไรรอบคอบอยู่เสมอ
วันศุกร์
นิสัยคนเกิดวันศุกร์
คนเกิดวันศุกร์เป็นเทพแห่งความรัก คนเกิดวันศุกร์มักมีดวงชะตาดี ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ หรือ ลำบากได้ไม่นาน เพราะกรรมดี บุญเก่าหนุนนำ จึงเกิดมาชาตินี้ต้องหมั่นทำบุญให้มากแล้วบุญกรรมจะดีขึ้นกว่าเดิม
อุปนิสัย
เป็นคนรักสวยรักงาม อารมณ์สุนทรีย์ มีไมตรีมีน้ำใจให้ทุกคน รักเรียน เก่งด้านศิลปะแขนงใดแขนงหนึ่ง มีความนอบน้อม อ่อนโยน ต่อผู้อื่น เป็นคนเจ้าชู้ฝักใฝ่โลกีย์ ชอบการบันเทิงเริงใจ ขยันในการทำงาน ซื่อตรง ไม่เคยคดโกงเอาเปรียบ ใคร รู้จักอดออม แต่ตัวรสนิยมสูง ชอบความสงบ เยือกเย็นสุขุม กตัญญูรู้บาปรู้บุญ มีความอดทน รู้จักประมาณตน ไม่โลภ จิตใจอารี แต่มักขี้บ่น และเป็นคนคิดมาระวังเรื่องความคิด กับเรื่องไม่เป็นเรื่อง ให้ผ่อนคลายลงบ้าง แล้วจะดี
วันเสาร์
นิสัยของคนเกิดวันเสาร์
คนเกิดวันเสาร์มักมีดวงชะตาแข็ง แม้ช่วงใดดวงเสียต้องตกยากหรือพบอุปสรรคที่หนักหนา กลับสามารถยืนหยัดต่อสู้ และ ผ่านไปได้ด้วยดี แม้แต่ใครคิดร้ายก็ต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด
อุปนิสัย
มีลักษณะความเป็นผู้นำ หนักแน่น รักเกียรติ ถือศักดิ์ศรี ของตน และไม่เคยคิดเอาเหรียบใคร และเป็นคนตรงไปตรงมา มีความขยัน อดทน ทำงานเก่ง และเป็นคนเสียสละ จิตใจเด็ดเดี่ยวยากแปรเปลี่ยน โกรธยาก แต่ถ้าได้โกรธ จะโกรธ นาน เป็นคนไม่ค่อยไว้วางใจใครง่ายๆ มีความรู้ดี ชอบความมั่นคง ไม่ช่างพูด การจะทำอะไรก็ตามมักจะคิดก่อนตัดสินใจทุกครั้ง ถือเหตุผลเป็นหลักสำคัญ เจ้าชู้ แต่ไม่แสดงออก นิสัยเข้มงวด ไม่เหลวไหล ไม่ชอบแค้นเคืองใคร ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ
ขอบคุณ แหล่งที่มาครับ
เว็บบอร์ดซิมก๊วนซ่าแฮ้ปปี้ไวรัส
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
Basic Verb Tense Exercise
กริยา
3 ช่อง
EXERCISES:
1.
drink: He ________ all the milk.
2.
go: The boys have _______ home.
3.
sit: Benny had _____ on the cake.
4.
choose: They had __________ the wrong road.
5.
do: They _______ the best that they
could.
6.
break: I thought you had __________ your
leg!
7.
know: You should have ___________ better.
8.
give: I ________ the right answer on the test yesterday.
9.
fly: You drove? You could have __________ here in half the time. (hint:
"could" is a helping verb. Just be concerned with "have."
What goes with "have"?)
10.
run: He _________ as fast as he could.
11.
throw: Who _________ those papers on the floor?
(hint: Substitute "he" for "who.")
12.
burst: As we drove around the corner, the tire ___________.
13.
rise: Yesterday, a heavy fog _________ over the water.
14.
swim: One of the boys has _______ to shore to get help.
15.
blow: You should have ___________ up those balloons for the party!
16.
come: When we ____________ home, we
found the dog inside!
17.
drive: You must have _________ really fast to be here so soon.
18.
draw: I have ____ a smaller version of the picture for my lab report.
19.
fall: He had __________ over the skate left in the road.
20.
freeze: The berries had ___________ in
the new refrigerator.
21.
grow: You have _________ much taller than your brother.
22.
ring: He has ___________ that church bell a hundred times!
23.
see: I have __________ that show a dozen
times or more.
24.
sing: She has never ________ better in her life.
25.
speak: Have you ______________ to Sam?
26.
take: I have not ________ that test yet.
27.
tear: The coach thought he had ______ a ligament.
28.
write: I have __________ my report already.
29.
burst: My suitcase suddenly _________ wide open in the middle of the airport!
30.
freeze: The plants will __________ if we
do not bring them in.
31.
fly: We'd be getting home now if we had
______________.
32.
blow: The storm had ________________
over.
33.
fall: She could not have _______ more
than six feet.
34.
break: Were any bones _____________?
35.
begin: We _________ that job last Friday
36.
know: You should have _________ what to
do.
37.
swim: She had ________ the English Channel when she was younger.
38.
ring: The old man has _________ the bell to warn the town of the fire.
39.
drive: How far have you _________ today?
40.
drink: During the flood, we ___________ bottled water.
41.
run: When I saw her pass the house, I ________ after her.
42.
do: She ______ all her homework tonight.
43.
swim: When I called for help, Helen
_________ out to me.
44.
come: He __________ in about an hour
ago.
45.
choose: The council could have ________
someone else.
46.
sing: The children _________ in the
program.
47.
grow: The group has __________ really
large.
48.
go: Alice has _______ to the movies.
49.
see: I'm sure Ray __________ me when I
left the room.
50.
give: What _______________ you that
idea?
เฉลย
1. drank หรือ has drunk
1. drank หรือ has drunk
เพราะควรจะพูดในเชิงว่าได้ดื่มไปแล้ว
2. gone
เพราะมี has อยู่แล้ว ก็เติม gone (verb ช่อง 3)ไป ตามหลัก grammar
3. sat
เพราะมี had อยู่แล้ว ก็เติม sat (verb ช่อง 3)ไป ตามหลัก grammar
4. chosen
เพราะมี had อยู่แล้ว ก็เติม chosen (verb ช่อง 3) ไป ตามหลัก grammar
5. did
เพราะประโยคนี้เกิดขึ้นแบบอดีต สังเกตคำว่า could สิ
6. broken
เพราะมี had อยู่แล้ว ก็เติม broken (verb ช่อง 3) ไป ตามหลัก grammar
7. known
เพราะมี have อยู่แล้ว ก็เติม known (verb ช่อง 3) ไป ตามหลัก grammar
8. gave
เพราะประโยคนี้เกิดขึ้นแบบอดีต สังเกตคำว่า yesterday สิ
9. flown
You drove? You could have __________ here in half the time.
แม้ประโยคนี้เกิดขึ้นแบบอดีต แต่หลัง could have ต้องตามด้วย verb ช่อง 3
10. ran
เพราะประโยคนี้เกิดขึ้นแบบอดีต สังเกตคำว่า could สิ
11. threw หรือ has thrown
เพราะควรจะพูดในเชิงว่าได้โยนทิ้งไปแล้ว
วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
Questionnaire Back-translation
การทำ back-translation นั้น เราจะทำกับ scale หรือ questionnaire ที่เรานำมาใช้โดย adopt จากต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่ภาษาไทยนั้น
ขั้นตอนที่ 1 การแปลจาก Source Language Version เป็น Target Language Version
1. เริ่มจากมีผู้แปลเป็นภาษาเรา (ภาษาไทย) 2-3 คน ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ จะมีนักวิจัยเป็นผู้แปล 1 คนอยู่ใน 2-3 คนนี้ด้วย
โดยเน้นการ recast the meaning of the source version (English) ไม่ควรเป็น literal translation
ซึ่งจะพิจารณาจากบริบททางวัฒนธรรมทางภาษาของภาษาที่ต้องการแปล (ณ ที่นี้คือภาษาไทย)
2. แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อตกลงว่า item นั้น ๆ ควรใช้คำว่าอะไรจึงทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเข้าใจมากที่สุด ขั้นตอนนี้ก็จะมีคณะกรรมการต่างหาก หรือเป็นผู้แปล ซึ่งมีนักวิจัย อยู่ในนั้นด้วย ก็ได้
วิธีการตัดสินฉบับแปล นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีนักภาษาศาสตร์ร่วมด้วย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการใช้คำ และไวยากรณ์ของภาษาฉบับแปล
เมื่อได้ฉบับแปลที่ผ่านการพิจารณา แก้ไขแล้ว เราเรียกว่า target language version ครับ
ขั้นตอนที่ 2 การทำ back-translation
(แปลฉบับ Target Language Version กลับไปเทียบกับ Source Language Version)
3. ในการทำ back-translation นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ bilingual users 2 คน โดยวิธีการแปล
จะเป็นการ render the meaning of the target language version in English rather than to translate every target language word into an English word. แล้วให้ผู้แปล 2 คนนี้ compare งานกันและมีผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านตัดสิน เราก็จะได้ฉบับ Back-translation ครับ
ขั้นตอนที่ 3 การทำ Translation Judgement
ในขั้นตอนนี้ เมื่อเราได้ฉบับ back-translation แล้ว จะมี monolingual users of the source language (ส่วนใหญ่ก็คือ Native users of English) ที่มีความรู้ทางด้านภาษาของตนเองดี ประมาณ 2-3 คน ตรวจสอบโดยเทียบภาษาของฉบับ Back-translated version กับ Source language version
หาก มี items ใดใน back-translated version แปลกลับมาจาก target language แล้วเป็นภาษาอังกฤษที่ไม่สื่อความหมาย ก็ต้อง reword ให้ง่ายต่อการเริ่มตั้งต้นแปลใหม่
สำหรับ item ที่มีปัญหา ก็จะเข้าสู่กระบวนการแปลจาก source version ใหม่หมด จนมาจบที่การตัดสิน back-translated version โดย monolingual users of the source language เสมอ...
เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำ Back-translation ครับ
References
Sperber, A. D. (2004). Translation and validation of study instruments for cross-cultural research. Gastroenterology, 126, S124–S128
Su, C.-T., & Parham, L. D. (2002). Case Report—Generating a valid questionnaire translation for cross-cultural use. American Journal of Occupational Therapy, 56, 581–585.
ขั้นตอนที่ 1 การแปลจาก Source Language Version เป็น Target Language Version
1. เริ่มจากมีผู้แปลเป็นภาษาเรา (ภาษาไทย) 2-3 คน ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ จะมีนักวิจัยเป็นผู้แปล 1 คนอยู่ใน 2-3 คนนี้ด้วย
โดยเน้นการ recast the meaning of the source version (English) ไม่ควรเป็น literal translation
ซึ่งจะพิจารณาจากบริบททางวัฒนธรรมทางภาษาของภาษาที่ต้องการแปล (ณ ที่นี้คือภาษาไทย)
2. แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อตกลงว่า item นั้น ๆ ควรใช้คำว่าอะไรจึงทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเข้าใจมากที่สุด ขั้นตอนนี้ก็จะมีคณะกรรมการต่างหาก หรือเป็นผู้แปล ซึ่งมีนักวิจัย อยู่ในนั้นด้วย ก็ได้
วิธีการตัดสินฉบับแปล นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีนักภาษาศาสตร์ร่วมด้วย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการใช้คำ และไวยากรณ์ของภาษาฉบับแปล
เมื่อได้ฉบับแปลที่ผ่านการพิจารณา แก้ไขแล้ว เราเรียกว่า target language version ครับ
ขั้นตอนที่ 2 การทำ back-translation
(แปลฉบับ Target Language Version กลับไปเทียบกับ Source Language Version)
3. ในการทำ back-translation นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ bilingual users 2 คน โดยวิธีการแปล
จะเป็นการ render the meaning of the target language version in English rather than to translate every target language word into an English word. แล้วให้ผู้แปล 2 คนนี้ compare งานกันและมีผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านตัดสิน เราก็จะได้ฉบับ Back-translation ครับ
ขั้นตอนที่ 3 การทำ Translation Judgement
ในขั้นตอนนี้ เมื่อเราได้ฉบับ back-translation แล้ว จะมี monolingual users of the source language (ส่วนใหญ่ก็คือ Native users of English) ที่มีความรู้ทางด้านภาษาของตนเองดี ประมาณ 2-3 คน ตรวจสอบโดยเทียบภาษาของฉบับ Back-translated version กับ Source language version
หาก มี items ใดใน back-translated version แปลกลับมาจาก target language แล้วเป็นภาษาอังกฤษที่ไม่สื่อความหมาย ก็ต้อง reword ให้ง่ายต่อการเริ่มตั้งต้นแปลใหม่
สำหรับ item ที่มีปัญหา ก็จะเข้าสู่กระบวนการแปลจาก source version ใหม่หมด จนมาจบที่การตัดสิน back-translated version โดย monolingual users of the source language เสมอ...
เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำ Back-translation ครับ
ไม่เห็นจะยากเลย แค่ขั้นตอนเยอะนิดนึง |
References
Sperber, A. D. (2004). Translation and validation of study instruments for cross-cultural research. Gastroenterology, 126, S124–S128
Su, C.-T., & Parham, L. D. (2002). Case Report—Generating a valid questionnaire translation for cross-cultural use. American Journal of Occupational Therapy, 56, 581–585.
กลับไปหน้าหลักของการวิจัยด้านภาษาและภาษาศาสตร์ คลิกที่รูปข้างล่าง สิครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)