ขั้นตอนที่ 1 การแปลจาก Source Language Version เป็น Target Language Version
1. เริ่มจากมีผู้แปลเป็นภาษาเรา (ภาษาไทย) 2-3 คน ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ จะมีนักวิจัยเป็นผู้แปล 1 คนอยู่ใน 2-3 คนนี้ด้วย
โดยเน้นการ recast the meaning of the source version (English) ไม่ควรเป็น literal translation
ซึ่งจะพิจารณาจากบริบททางวัฒนธรรมทางภาษาของภาษาที่ต้องการแปล (ณ ที่นี้คือภาษาไทย)
2. แล้วนำมาเปรียบเทียบเพื่อตกลงว่า item นั้น ๆ ควรใช้คำว่าอะไรจึงทำให้ผู้ทำแบบสอบถามเข้าใจมากที่สุด ขั้นตอนนี้ก็จะมีคณะกรรมการต่างหาก หรือเป็นผู้แปล ซึ่งมีนักวิจัย อยู่ในนั้นด้วย ก็ได้
วิธีการตัดสินฉบับแปล นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และมีนักภาษาศาสตร์ร่วมด้วย เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการใช้คำ และไวยากรณ์ของภาษาฉบับแปล
เมื่อได้ฉบับแปลที่ผ่านการพิจารณา แก้ไขแล้ว เราเรียกว่า target language version ครับ
ขั้นตอนที่ 2 การทำ back-translation
(แปลฉบับ Target Language Version กลับไปเทียบกับ Source Language Version)
3. ในการทำ back-translation นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ bilingual users 2 คน โดยวิธีการแปล
จะเป็นการ render the meaning of the target language version in English rather than to translate every target language word into an English word. แล้วให้ผู้แปล 2 คนนี้ compare งานกันและมีผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านตัดสิน เราก็จะได้ฉบับ Back-translation ครับ
ขั้นตอนที่ 3 การทำ Translation Judgement
ในขั้นตอนนี้ เมื่อเราได้ฉบับ back-translation แล้ว จะมี monolingual users of the source language (ส่วนใหญ่ก็คือ Native users of English) ที่มีความรู้ทางด้านภาษาของตนเองดี ประมาณ 2-3 คน ตรวจสอบโดยเทียบภาษาของฉบับ Back-translated version กับ Source language version
หาก มี items ใดใน back-translated version แปลกลับมาจาก target language แล้วเป็นภาษาอังกฤษที่ไม่สื่อความหมาย ก็ต้อง reword ให้ง่ายต่อการเริ่มตั้งต้นแปลใหม่
สำหรับ item ที่มีปัญหา ก็จะเข้าสู่กระบวนการแปลจาก source version ใหม่หมด จนมาจบที่การตัดสิน back-translated version โดย monolingual users of the source language เสมอ...
เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการทำ Back-translation ครับ
ไม่เห็นจะยากเลย แค่ขั้นตอนเยอะนิดนึง |
References
Sperber, A. D. (2004). Translation and validation of study instruments for cross-cultural research. Gastroenterology, 126, S124–S128
Su, C.-T., & Parham, L. D. (2002). Case Report—Generating a valid questionnaire translation for cross-cultural use. American Journal of Occupational Therapy, 56, 581–585.
กลับไปหน้าหลักของการวิจัยด้านภาษาและภาษาศาสตร์ คลิกที่รูปข้างล่าง สิครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น