เพื่ออรรถรสในการอ่าน เปิดเพลงนี้ฟังไปด้วยสิครับ
วันนี้ก็ขอเอาใจพนักงานโรงแรมและใครที่ทำงานด้านบริการ (ผมว่าจริง ๆ งานทุกอย่างคือการบริการ อยู่ที่ว่า คุณบริการใคร ผมเป็นครูก็ให้บริการนักเรียน และผู้ปกครอง ชาวนาก็ให้บริการผู้ที่ซื้อข้าว ถ้าชาวนาปลูกข้าวไม่มีคุณภาพ เวลาเอาไปขายพูดจาไม่สุภาพ หรือโกงลูกค้า ก็ไม่ใช่การบริการที่ดีนั่นเอง Service is given out of everyone. ประมาณนั้นทีเดียว)
จึงน่าจะพูดได้่ว่า Go the extra mile เป็นสำนวนของคนอาชีพบริการโดยตรง แต่โดยอ้อม เป็นค่านิยมของคนที่เปิดรับโอกาสให้ตัวเองได้ทำอะไรต่อมิอะไรให้คนรอบข้าง เป็นคนมองโลกในแง่ดี
และถ้าอยาก walk the extra mile. จะต้องทำยังไงเหรอ
(go the extra mile หรือ go an extra mile ก็ได้นะครับ)
Go the extra mile (โก ดิ เอ็กซ์ตร้า ไมล์) หรือ walk the extra mile (ว้อล์ค ดิ เอ็กซ์ตร้า ไมล์) เป็นสำนวนสำหรับคนที่ใส่ใจในความรู้สึกหรือพยายามคาดเดาความต้องการภายในใจลึก ๆ ของลูกค้าหรือของคนที่ตนจะต้องบริการหรือให้ความช่วยเหลือ พอจะเดาได้ไหมครับ ว่าสำนวนประโยคนี้แปลว่าอะไร
Go the extra mile มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า do more than what is expected of you. คือ ทำมากกว่าที่เขาคาดหวังจากคุณ นั่นเองครับ
มีุคำคมของ Robert Gately ที่ว่า People expect good service but few are willing to give it. คนทุกคนหวังให้คนอื่นทำดีกับตนเองแต่น้อยคนจะเต็มใจทำให้
1. Petch is a great restaurant manager; he's always willing to go the extra mile. เพชรเป็นผู้จัดการร้านอาหารที่ยอดเยี่ยม เขาเต็มใจให้บริการมากกว่าที่ใคร ๆ ขอเสมอ
2. If you can walk the extra mile, most of your customers will be satisfied with the service of our hotel. ถ้าเธอสามารถให้มากกว่าที่ลูกค้าขอ ลูกค้าส่วนใหญ่ของเธอจะพึงพอใจกับบริการของโรงแรมของเราีโ
ในชีวิตของคนทุกคน มีโอกาสที่จะเป็น ผู้ให้ มากมายเหลือเกิน จงหยิบยื่น (ไม่ใช่หยิบยืม) นะครับ คนที่อ่านบล๊อกนี้ ส่วนใหญ่ก็สุดยอดกันทั้งน้าน แหละ
ขอฝากไว้นะครับว่านายจ้าง หรือใครก็ตาม จงเก็บคนลักษณะแบบนี้เอาไว้ ถ้าใครเคยอ่าน 7 habits for highly effective people ของ Stephen Covey เค้าได้พูดเรื่อง P (product) และ PC (product capability) เอาไว้ ซึ่งเค้ายกตัวอย่างนิทานอีสป เรื่อง ห่านออกไข่เป็นทอง (ไม่ใช่ ห่านทองคำ ของ พั่น้องตระกูลกริมม์นะครับ) พอจะจำเรื่องนี้ได้มั้ย
เรื่องนี้้้จบไม่สวย เพราะสุดท้ายชายเจ้าของห่าน ทำตามที่ภรรยาบอก คือสังหารห่านเสีย เมียบอกว่าในท้องห่านจะมีไข่ทองคำอีกมาก ผ่าท้องจะได้เอาไข่มากมายไปขาย
เสียเลย เนาะ แทนที่จะมีไข่ทองคำไว้ขายเรื่อย ๆ ตลอดไป
ทีนี้ อธืบายหลักแนวคิดของ Stephen Covey
P คือผลผลิต คือไข่ทองคำ
ส่วน PC คือ ความสามารถหรือคนที่ผลิต คือ ห่าน
เสียห่านไป ก็ไม่มีไข่ทองคำ ชีวิตเราเสียห่านบ่อยครับ แต่เราไม่รู้ตัว
เสียใจ เพราะไม่ใส่ใจยังไงล่ะครับ
ก่อนจะจากกัน ขอทิ้งท้ายว่า การเป็นคนที่เห็นหัวอกหัวใจคนอื่นนั้น คือเสน่ห์เฉพาะตัว ไม่มีใครเกิดมาแล้วจะมีบุคลิกแบบนี้ทุกคน ถึงฝึกฝน ก็ไม่สู้การมีใจ ใฝ่เอาดีเอง มีคำคมอยู่ 3 ประโยค ไม่รู้ว่าใครเขียน ผมจำไม่ได้ มีข้อความดังนี้
Average minds discuss events;
Small minds discuss people.
จิตใจที่ยิ่งใหญ่ จะพูดคุยเรื่องความคิด
จิตใจทั่วไป จะพูดคุยเรื่องสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
จิตใจที่คับแคบ จะพูดคุยเรื่องคน
ในครั้งต่อไป เรามาเตรียมตัวฝึกภาษาอังกฤษเพื่อคุยกับต่างชาติในวันสงกรานต์กันนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น