วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

890-101 Fundamental English Listening and Speaking



ดูความรู้เพิ่มเติม และแบบฝึกหัดเพิ่มเติม เสริมทักษะจากบทเรียน ทอล์กไทม์ 2
(ตอนนี้ยังไม่สามารถให้ดูได้ครับ กำลังเขียนอยู่)

เชิญคลิกเลือก บทที่นักศึกษาต้องการฝึก

บทที่ 1   (1) อาชีพ และ (2) กิจวัตรประจำวัน
เป็นการฝึกบทสนทนา เพื่อให้นักศึกษาสามารถฟัง-พูด ถาม-ตอบ-โต้ตอบ เกี่ยวกับ
(1) อาชีพของตนเองและของผู้อื่นได้
(2) สิ่งที่ทำเป็นกิจวัตร เช่น งานที่ทำ วิชาที่เรียน งานอดิเรก มหาวิทยาลัยที่เราเรียน

บทที่ 2  (1) สิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน และ (2) ความรู้สึก
(1) สิ่งที่ผู้พูดบอกว่า กำลังทำอยู่ในช่วงที่กำลังพูดอยู่ เช่น พอลกำลังเรียนที่วิทยาลัย โรเบิร์ตกำลังเที่ยวอยู่ในมิลาน (อะไรประมาณเนี้ย)
(1) ความรู้สึก อารมณ์ เช่น มีความสุข เบื่อ ประหลาดใจ ตื่นเต้น โกรธ กังวล
และสามารถบอกเหตุผลได้ ว่าเรามีอารมณ์แบบนั้น เพราะอะไร

Fundamental English @ PSU

ยินดีต้อนรับนักศึกษาที่เรียน




บล๊อกประกอบการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ครูทำขึ้นมานี้ หาได้มีเจตนาสร้างความสับสนหรือเพิ่มภาระงานให้กับผู้เรียนแต่อย่างใด แต่ใช้ประกอบการเรียนการสอนของครูในช่วงที่ครูมีภาระการสอนที่ PSU ในช่วงที่ปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2555   


นักศึกษาครับ คุณจะต้องยึดถือภาระงานตามเอกสารแนะนำรายวิชาที่ได้รับในสัปดาห์แรกของการเรียนเป็นหลัก


เมื่อนักศึกษามีเวลาเหลือ ก็สามารถเข้ามาฝึกทักษะ ทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนที่นักศึกษาได้เรียนไปแล้ว หรือเตรียมตัวดูเนื้อหาในบทต่อ ๆ ไปได้ เช่นกัน


ครูยินดี และเต็มใจนะครับ ถ้านักศึกษาจะมีคำถาม สงสัย ในหัวข้อ คำศัพท์ การออกเสียง ไวยากรณ์ ตลอดจนแนวทางในการเรียนให้ประสบความสำเร็จ 


ขอให้คุณ ตั้งใจ มีเป้าหมายในการเรียน (ซึ่งครูคาดหวังเบา ๆ เอาไว้ว่า ทุกคนจะตั้งใจ ขยันก็น่าจะได้เกรดที่น่าพึงพอใจ)



เชิญคลิก เพื่อเข้าไปทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมได้ครับ



 วิชา 890-101 การฟังและพูดภาษาอังกฤษพื้นฐาน และ
วิชา 890-102 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Restaurant Service 1




1. คำศัพท์วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนอังกฤษ
2. ฝึกสะกดคำเกี่ยวกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่เสิร์ฟในร้านอาหาร (ได้ยินคำว่าอะไร ก็สะกดให้ถูกต้องนะครับ)
3. English as a second language ESL/EFL: Conversations at a Restaurant, Interactive Mind Map แบบว่ามีหลายสถานการณ์มาก ๆ เลยครับ (จัดไป) ฝึกกันให้เต็มที่เลยนะครับ


4. Learning by Recipes or Cooking Instructions
4.1 Recipes for English learning - Chicken Kiev

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Preposition of Time (quiz)

Prepositions for Time บุพบทใช้กับเวลา ทำดูนะครับ (ลากคลุมเพื่อดูเฉลย)
1. We visited London _____ 1978.
(in)
2. Daeng will be here _____ six o'clock.
(at)
3. He was born _____  August.
(in)
4. She'll be back _____  Monday.
(on)
5. There are a lot of things to see _____ Christmas day.
(on)
6. There were riots in Bermingham ______  2011.
(in)
7. They arrived in Phuket _____ October.
(in)
8. I love to go shopping _____ Christmas time.
(at)
9. Do you wake up _____ night?
(at)
10. What do you like doing _____ Fridays?
(on)
11. He's talking with her boss _____ the moment.
(at)
12. I lived in China _____ the 2000s.
(in)
13. I'll see you _____ a few months.
(in)
14. We like to exercise _____ the evening.
(in)
15. My birthday is _____ December 21st.
(on)

Audiolingual Method

เคยจำคำที่อาจารย์ของเราพูดบ่อย ๆ มั้ยครับ คำว่า "Repeat after me" (รีพี้ทฺ อ๊าฟเตอ มี)


นี่แหละวิธีการสอนแบบนี้ เริ่มคุ้นแล้วล่ะสิ


วิธีนี้อาจจะเรียกว่า Aural-Oral Method หรือ Michigan Method


เกิดขึ้นหลังยุค Direct Method ในช่วง ค.ศ. 1960s ถึง 1970s 




เป็นการ recycle วิธีการสอนแบบ Grammar-Translation ผสมกับแนวคิดแบบพฤติกรรมนิยมเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง ในยุคนั้นแนวคิดพฤติกรรมนิยมมีอิทธิพลต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก ภาษาจึงถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Language is a conditioned behavior)


การเรียนรู้ภาษาเป็นความสามารถของมนุษย์ (และคล้ายกับหนู สุนัขหรือแมว) 


มนุษย์จะสร้างพฤติกรรมใหม่ (habit formation) การเรียนภาษาก็เหมือนกัน
เริ่มจากครูจะกระตุ้นให้นักเรียนอ่านออกเสียงหรือพูดตาม ซ้ำ ๆ (repetitive drills) ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการอธิบายไวยากรณ์มากนัก แต่กฏเกณฑ์และหลักไวยากรณ์ (grammars) จะถูกซึมซับผ่านการฝึกพูด "โครงสร้างของวลีหรือประโยค" (structures) มากพอที่จะสร้างพฤติกรรมตอบสนองได้ ครูมีหน้าที่ในการสร้างรูปแบบประโยค นักเรียนก็ตอบสนองโดยการอ่านตามหรือทำซ้ำไปซ้ำมา ขณะเดียวกัน ครูเน้นการให้แรงเสริมเชิงบวก (positive reinforcement) เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้โครงสร้างของประโยค ในที่สุดเด็กก็จะพูดโต้ตอบได้ (ตอบสนองจากเงื่อนไขที่ครูเป็นคนกระตุ้นนั่นเอง








จุดเด่น
1. ครูจะให้ผู้เรียนฝึกฟังและพูดรูปแบบประโยคที่ถูกต้อง ฝึกซ้ำ ๆ
2. เป็นวิธีที่ทำให้ผู้เรียนจำรูปแบบบทสนทนาได้เร็วที่สุดในช่วงเวลาสั้น ๆ


ข้อจำกัด
1. เด็กจะจำรูปแบบ ไม่ได้คิดต่อยอดอะไร ไม่มีการสร้างสรรค์ทางภาษา
2. เด็กบางคนไม่ชอบการท่องจำ อาจทำให้ครูต้องใช้กลวิธีต่าง ๆ ในการสร้างแรงจูงใจ
3. เด็กจะสนทนาโต้ตอบไม่ได้ สื่อสารในสถานการณ์จริงไม่ได้
4. สามารถใช้สำหรับการเรียนในระดับเริ่มต้น แต่ไม่เหมาะกับผู้เรียนที่สื่อสารได้แล้ว

 
บรรณานุกรม
Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York: Longman 


Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching 2nd. Oxford: Oxford University Press.


Richards, J., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press


Direct Method

เข้ามาแทนที่วิธีการสอนแบบ Grammar Translation Method ในช่วงปี ค.ศ. 1890s ถึง 1960s เนื่องจากการสอนภาษาให้ความสำคัญกับการฟัง-พูดมากขึ้นกว่าในยุคแรก ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาที่ต้องการสอนเท่านั้น วิชาที่สอนจะเป็นวิชาที่สามารถอธิบายด้วยภาพ แผนที่ หรือสื่อจริง โดยในระหว่างที่ครูสอนครูจะพยายามถามคำถามทั้งแบบ open-ended และ close-ended ในแต่ละเนื้อหาย่อย ๆ เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ ครูจะให้นักเรียนออกเสียงคำใหม่และคำที่นักเรียนออกเสียงผิดอยู่


หากนักเรียนสงสัยและตั้งคำถามครูจะใช้วิธีการพูดอธิบายด้วยประโยคง่าย ๆ หรือการวาดรูป แสดงท่าทาง แต่จะไม่มีการแปลเป็นภาษาแม่ของผู้เรียน นักเรียนจะโต้ตอบครูด้วยภาษาที่เรียนอยู่เท่านั้น ดังนั้นการสื่อสารในห้องเรียนจึงมีมากกว่าวิธีไวยากรณ์-การแปล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กิจกรรมการเรียนรู้จะเป็นการเขียนตามคำบอก การเขียน paragraph เกี่ยวกับสิ่งที่เรียน หรือการเติมคำในช่องว่าง 

จุดเด่น
1. ความสามารถในการพูดภาษาได้สำคัญกว่าการรู้กฎเกณฑ์/ไวยากรณ์ 
2. การแก้คำผิดของครูจะใช้วิธีแบบอ้อม ๆ เช่น การอ่านประโยคที่ผิดซ้ำด้วยการขึ้นเสียงสูง เป็นการให้เด็กรู้เอง สังเกตเอง (self-correct) 
3. ครูจะไม่อธิบายหลักไวยากรณ์ นักเรียนจะซึมซับจากตัวอย่างประโยคที่เรียนเอง






ยุคต่อมาคือ Audiolingual Method คร้าบบบ



บรรณานุกรม
Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York: Longman 

Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching 2nd. Oxford: Oxford University Press.

Richards, J., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Grammar Translation Method

1.การสอนภาษาแบบไวยากรณ์-การแปล (Grammar Translation) หรือเรียกอีกอย่างว่า Classical Method หรือ Traditional Method ซึ่งเป็นวิธีสอนภาษาในยุคโบราณ (แต่ถือว่ายังไม่ตกยุค เพราะครูหรืออาจารย์ที่สอนภาษาหลายท่าน ยังคงใช้อยู่สำหรับสอนวิชาที่ต้องมีการแปลเนื้อหา) วิธีการสอนแบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากในช่วงที่ยุโรปมีความต้องการที่จะฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุคตั้งแต่ (Renaissance) เป็นช่วงที่คนในสมัยนั้นเชื่อว่าการเป็นปัญญาชน (Intellect) ผู้เรียนจะต้องบ่มเพาะจากการซาบซึ้งและเข้าใจวรรณคดี นำแง่มุมจากวรรณคดีมาพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นวรรณคดีส่วนใหญ่ซึ่งเป็นภาษากรีกและลาติน (classical languages) แม้กระทั่งวรรณคดีเด่น ๆ ในภาษาอื่น ๆ จึงถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอน วิธีการสอนแบบนี้ไม่ได้ตั้งใจให้ผู้เรียนเรียนฝึกพูดภาษานั้น ๆ แต่ต้องการให้แปลออกมาเป็นภาษาตนเองได้อย่างแม่นยำ (accuracy) และหาคำที่ใกล้เคียงกับภาษาแม่มากที่สุด ครูจะใช้ภาษาแม่เป็นหลักในการจัดเรียนการสอน ในแต่ละครั้งที่มีการเรียน ครูจะรู้อยู่ในใจแล้วว่าในบทอ่านแต่ละครั้ง ไวยากรณ์/กฎและข้อยกเว้น//รูปแบบประโยค ลักษณะไหนที่นักเรียนจะต้องรู้ (ไวยากรณ์ไม่ได้แบ่งเป็น unit เหมือนที่เราเรียนในแบบวิธี CLT) ครูจะใช้แบบฝึก/ใบความรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทอ่านหรือวรรณกรรมที่ต้องแปล มีการทดสอบไวยากรณ์และความเข้าใจความหมายของบทอ่าน

ลักษณะเด่น
1. ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ ”วัฒนธรรมการสอนภาษา” หรือ “วิธีสอนภาษา”
2. ผู้เรียนจะพัฒนาทักษะทางภาษาเพียง 3 ทักษะคือ การอ่าน การเขียน และ คำศัพท์  สุดท้ายบทบาทของผู้เรียนคือการท่องจำ
3. ครูวัดผลโดยการวัดในระดับความจำ ความเข้าใจ ซึ่งครอบคลุมคำศัพท์ กฎเกณฑ์ทางภาษา/ไวยากรณ์ และการแปลออกมาเป็นภาษาของตนเองได้อย่างถูกต้อง ได้ใจความตามภาษาเดิมให้มากที่สุด
4. ครูเป็นศูนย์กลาง นักเรียนเป็นผู้รับฟัง จดและจำคำศัพท์ หลักไวยากรณ์
5. ผู้เรียนมีความสามารถด้านไวยากรณ์เป็นหลัก (grammatical competence เท่านั้น)

ข้อจำกัด
1. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าภาษาคือการเรียนรู้ไวยากรณ์หรือกฏเกณฑ์เพียงอย่างเดียว การใช้ภาษาไม่ใช้สิ่งสำคัญ
2. ผู้เรียนไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนกับการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงได้ เนื่องจากสามารถเรียนรู้หน่วยคำ ความหมาย และประโยคเท่านั้น ไม่มีแม้การฝึกพูดประโยคนั้นซ้ำ ๆ(ซึ่งมีใน Audiolingual Method) ผู้เรียนขาดทักษะการออกเสียงที่ถูกต้อง (ครูออกเสียงไม่ถูกต้องก็สอนภาษาได้) การใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ และความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรมของภาษา


ยุคหลังจากนี้ คือ Direct Method จร้า 

อ่าน แปล ตอบคำถาม


บรรณานุกรม
Brown, H. D. (2000). Principles of language learning and teaching (4th ed.). New York: Longman 

Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching 2nd. Oxford: Oxford University Press.

Richards, J., & Rodgers T. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching (2nd ed.). Cambridge, UK: Cambridge University Press

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Always, often, sometimes, never กริยาวิเศษณ์ บอกความถี่(ความบ่อย)

ตารางแสดงความถี่ จากถี่ที่สุด ไปยังถี่น้อยที่สุดคร้าบ
ความถี่ กริยาวิเศษณ์ประโยคตัวอย่าง
100%always ทุกวัน / เสมอalways have breakfast at 7a.m.
ฉันกินอาหารเช้าเวลา 7 นาฬิกา ทุกวัน
90%usually เกือบทุกวัน /  มักจะ.(กริยา)..usually go to school by car.
ฉันมักจะ ไปโรงเรียนด้วยรถยนต์ 
80%normally / generally โดยส่วนมาก / โดยปกติ      normally have lunch at the canteen.
โดยส่วนมากฉันกินอาหารเที่ยงที่โรงอาหาร
70%often* / frequently  บ่อยoften  read comments in Facebook.
ฉันอ่านคอมเม้นต์บนเฟสบุ๊คบ่อย
50%sometimes  บ้าง / บางครั้ง / บางทีsometimes get up late.
บางทีฉันก็ตื่นสาย
30%occasionally นาน ๆ ที / ทุกครั้งที่มีโอกาส (กริยา)occasionally go to the park.
ฉันไปสวนสาธารณะทุกครั้งที่มีโอกาส
10%seldom / rarely ไม่ค่อยจะ / นาน ๆ จะseldom read comics.
ฉันไม่ค่อยจะอ่านการ์ตูน
5%hardly ever แทบจะไม่ / น้อยมากที่จะhardly ever iron my clothes.
ฉันแทบจะไม่รีดผ้า
0%never ไม่เคย ..(กริยา)..เลยnever talk to strangers.
ฉันไม่เคยคุยกับคนแปลกหน้าเลย

* คำว่า often สามารถออกเสียงว่า อ๊อฟเฟ่น หรือ อ๊อฟเท่น ก็ได้นะจ๊ะ


สิ่งที่นักเรียนต้องสร้างความคุ้นเคยคือ ตำแหน่งที่คำเหล่านี้อยู่ใน

ประโยค สังเกตประโยคแรกซึ่งเป็นประโยคบอกเล่า สิครับ

I  sometimes  brush my dog's hair.


คำว่า sometimes อยู่หลัง ประธาน เราเห็นเหมือนกันใช่ไหมครับ




ช่วยตอบหน่อยสิครับว่า  ในประโยคบอกเล่า คำว่า sometimesอยู่ที่ตำแหน่งไหน




อยู่หลังประธาน ใข่ไหมครับ แต่จริง ๆ แล้วในประโยคบอกเล่า อย่าจำว่าอยู่หลังประธานหรือหน้ากริยานะครับ ครูจะแจกแจงเป็น 3 แบบ ให้เห็น ดังนี้



แบบที่ 1 อยู่หลังประธาน และอยู่หน้า verb แท้ ทุกครั้ง ในกรณีที่มีแต่ verb แท้

( verb แท้ เช่น eat, draw, sing, come, write เป็นต้น)

ประโยคจะต้องเป็น simple อาจจะเป็น past, present หรือ future simple เท่านั้นนะครับ

 เช่น  We always stayed at home after six p.m.
พวกเราอยู่ที่บ้านหลัง 6 โมงเย็นเสมอ (พูดถึงอดีต ซึ่งทำไปแล้ว)

We always wait for our mother in front of the school.
พวกเรารอแม่อยู่ที่หน้าโรงเรียนเสมอ (พูดถึงปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง)

We will always miss the food you cooked.
พวกเราจะคิดถึงอาหารที่เธอเคยทำเสมอ (พูดถึงอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง)


สรุปสั้น ๆ ว่า อยู่หน้า verb แท้ จร้า


แบบที่ 2 อยู่หลัง กริยา be ทุกครั้ง

( กริยา be เช่น is, am, are, was, were, will be, shall be เป็นต้น)

ลักษณะประโยค อดีต ปัจจุบัน อนาคต เหมือนแบบที่ 1 แต่เป็นกริยา be
เช่น  We are always busy in the morning.

พวกเรายุ่งเสมอในช่วงตอนเช้า (พูดถึงสิ่งที่เกิดในปัจจุบัน คือ ยุ่ง)







ต่อไป สังเกตประโยคปฏิเสธครับ


We aren't always happy.




Kru Petch doesn't always eat Larb Ped.




ประโยคปฏิเสธจะต้องจัดการให้มีประธานกับรูป not ก่อน แล้วจึงใส่กริยาวิเศษณ์บอกความถี่

อยู่ระหว่างกำลังเพิ่มข้อมูล ครับ











วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กระแสใหม่ แพล้งกิ้งเหรอ ก็โอเค แต่ชั่วโมงนี้ ยกให้"พับเพียบไทยแลนด์"

ว่าแล้วไง คนไทยเราสร้างสรรค์จะตายไป นะครับ
ในขณะที่ "แพลงกิ้ง" ระบาดเหมือนโรค ไฟลามทุ่ง เสมือนโลกนี้เป็นเรือนกาย และไอ้เจ้า "แพลงกิ้ง" ก็ได้วิวัฒน์พัฒนาสายพันธุ์ไป เป็น Nude Planking ซะแล้วล่ะสิ
ผิดทั้งศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่ได้ว่าคนทำนะ จะทำก็เรื่องของคุณ มันอันตราย อาจทำให้ตายหรือพิการ

ในความพิสดาร ก็เกิดความพิศดารแบบน่ารัก ๆ ดูมีวัฒนธรรมเกิดขึ้น คือการนั่ง "พับเพียบไทยแลนด์"  ไม่ธรรมดานะเด็กบ้านเรา สามารถสร้างกระแสความนิยมของวัยรุ่นชาวไทยอย่างรวดเร็ว

มีรายงานว่า ยอดคลิกล่าสุดของแฟนเพจ "พับเพียบไทยแลนด์" เมื่อเวลา 14.35 น. วันที่ 20 มิ.ย.นี้ มีประมาณ 153,025 คน
โดยในแฟนเพจมีชาวสังคมออนไลน์เข้ามาโพสต์รูปท่านั่งพับเพียบตามสถานที่ต่างๆ กันอย่างแพร่หลาย มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะกล่าวในทำนองชื่นชอบ ชื่นชมเอกลักษณ์ไทยที่มีดีไม่เหมือนใคร รวมถึงข้อความที่โพสต์บอกว่าจะลองทำเลียนแบบแล้วนำมาโพสต์ขึ้นเว็บไซต์
 แฟนเพจพับเพียบไทยแลนด์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยระบุว่าต้องการแหวกกระแสการทำแพลงกิ้ง นำความเป็นไทยเข้ามาใส่ เน้นไม่อันตราย งามอย่างไทย และผู้ใหญ่รัก แต่ยังมีผู้โพสต์บางส่วนนำภาพท่านั่งพับเพียบที่ส่อแววก่อให้เกิดอันตรายมาโพสต์เช่นกัน อาทิ นั่งพับเพียบบนตู้เย็น นั่งพับเพียบบนชานชาลารถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นต้น
 นอกจากนี้ยังมีการทำ "เลวิเทติ้ง (Levitating)" คือ การถ่ายภาพขณะที่ร่างกายลอยค้างอยู่กลางอากาศ และไม่มีอวัยวะใดสัมผัสกับพื้น ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในหมู่ชาวสังคมออนไลน์เช่นกัน
 น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งจากเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม พบการเล่นแพลงกิ้งรูปแบบใหม่ คือ นู้ดแพลงกิ้ง ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติจะแก้ผ้าทำท่าต่างๆ เช่น ในตู้ปลา อ่างอาบน้ำ หรือบนหลังตู้ และสถานที่สาธารณะ นอกจากนี้ยังพบภาพลักษณะเหมือนหญิงสาวชาวเอเชียเปลือยกายแพลงกิ้งบนเก้าอี้ในห้องนอน ถูกนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ รวมทั้งมีการลิงค์ไปยังเฟซบุ๊กด้วย ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นหญิงคนไทยหรือไม่
 น.ส.ลัดดากล่าวว่า รู้สึกหวาดเสียวและน่ากลัวเห็นจะเป็นภาพที่ชายชาวต่างชาติคนหนึ่งแก้ผ้า และทำท่าแพลงกิ้งลงในตู้ปลา รวมทั้งต้องเกร็งคอ เกร็งตัว หากเกิดเป็นตะคริวหรือกระแสไฟฟ้าในตู้ปลารั่ว อาจจะจมน้ำเสียชีวิตได้ จึงขอเตือนประชาชนไม่ควรทำนู้ดแพลงกิ้งแม้จะไม่เห็นอวัยวะเพศก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่สร้างสรรค์ และไม่ควรกระทำ หากจะทำเล่นที่ห้องนอนส่วนตัวก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ควรนำภาพมาเผยแพร่ในเฟซบุ๊กหรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ทั้งนี้ สำนักเฝ้าระวังฯ จะทำหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้บล็อกและหาตัวผู้นำภาพดังกล่าวมาโพสต์มาดำเนินคดีด้วย
 “ฝากเตือนให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองช่วยเป็นหูเป็นตาไม่ให้เด็กของเราเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าว หากนำมาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตจะมีความผิดทางกฎหมายได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคนไทยคงจะไม่ทำนู้ดแพลงกิ้ง เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม กระทบต่อวัฒนธรรมอันดีงามของไทย” น.ส.ลัดดากล่าว
 น.ส.ลัดดากล่าวว่า ขอชื่นชมกลุ่มวัยรุ่นรวมตัวทำพับเพียบไทยแลนด์ออกมาปะทะกับแพลงกิ้ง เด็กกลุ่มนี้ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสในการสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย นำมาเผยแพร่ในเฟซบุ๊กเพื่อรณรงค์ให้เด็กเยาวชนไทยเห็นความสำคัญของความเป็นไทย ไม่อิงกระแสตะวันตกมากจนเกินไป.



เป็นแฟนเพจได้ที่ "พับเพียบไทยแลนด์"

แหล่งที่มา: http://www.thaipost.net/x-cite/210611/40514

กระแสใหม่ แพล้งกิ้งเหรอ ก็โอเค แต่ชัวโมงนี้ ยกให้"พับเพียบไทยแลนด์" Pubpeab Thailand: a creative resolution of Nude Planking

ว่าแล้วไง คนไทยเราสร้างสรรค์จะตายไป นะครับ
ในขณะที่ "แพลงกิ้ง" ระบาดเหมือนโรค ไฟลามทุ่ง เสมือนโลกนี้เป็นเรือนกาย และไอ้เจ้า "แพลงกิ้ง" ก็ได้วิวัฒน์พัฒนาสายพันธุ์ไป เป็น Nude Planking ซะแล้วล่ะสิ
ผิดทั้งศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่ได้ว่าคนทำนะ จะทำก็เรื่องของคุณ มันอันตราย อาจทำให้ตายหรือพิการ

ในความพิสดาร ก็เกิดความพิศดารแบบน่ารัก ๆ ดูมีวัฒนธรรมเกิดขึ้น คือการนั่ง "พับเพียบไทยแลนด์"  ไม่ธรรมดานะเด็กบ้านเรา สามารถสร้างกระแสความนิยมของวัยรุ่นชาวไทยอย่างรวดเร็ว

มีรายงานว่า ยอดคลิกล่าสุดของแฟนเพจ "พับเพียบไทยแลนด์" เมื่อเวลา 14.35 น. วันที่ 20 มิ.ย.นี้ มีประมาณ 153,025 คน
โดยในแฟนเพจมีชาวสังคมออนไลน์เข้ามาโพสต์รูปท่านั่งพับเพียบตามสถานที่ต่างๆ กันอย่างแพร่หลาย มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะกล่าวในทำนองชื่นชอบ ชื่นชมเอกลักษณ์ไทยที่มีดีไม่เหมือนใคร รวมถึงข้อความที่โพสต์บอกว่าจะลองทำเลียนแบบแล้วนำมาโพสต์ขึ้นเว็บไซต์
 แฟนเพจพับเพียบไทยแลนด์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยระบุว่าต้องการแหวกกระแสการทำแพลงกิ้ง นำความเป็นไทยเข้ามาใส่ เน้นไม่อันตราย งามอย่างไทย และผู้ใหญ่รัก แต่ยังมีผู้โพสต์บางส่วนนำภาพท่านั่งพับเพียบที่ส่อแววก่อให้เกิดอันตรายมาโพสต์เช่นกัน อาทิ นั่งพับเพียบบนตู้เย็น นั่งพับเพียบบนชานชาลารถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นต้น
 นอกจากนี้ยังมีการทำ "เลวิเทติ้ง (Levitating)" คือ การถ่ายภาพขณะที่ร่างกายลอยค้างอยู่กลางอากาศ และไม่มีอวัยวะใดสัมผัสกับพื้น ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในหมู่ชาวสังคมออนไลน์เช่นกัน
 น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับแจ้งจากเครือข่ายเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม พบการเล่นแพลงกิ้งรูปแบบใหม่ คือ นู้ดแพลงกิ้ง ส่วนใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติจะแก้ผ้าทำท่าต่างๆ เช่น ในตู้ปลา อ่างอาบน้ำ หรือบนหลังตู้ และสถานที่สาธารณะ นอกจากนี้ยังพบภาพลักษณะเหมือนหญิงสาวชาวเอเชียเปลือยกายแพลงกิ้งบนเก้าอี้ในห้องนอน ถูกนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ รวมทั้งมีการลิงค์ไปยังเฟซบุ๊กด้วย ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นหญิงคนไทยหรือไม่
 น.ส.ลัดดากล่าวว่า รู้สึกหวาดเสียวและน่ากลัวเห็นจะเป็นภาพที่ชายชาวต่างชาติคนหนึ่งแก้ผ้า และทำท่าแพลงกิ้งลงในตู้ปลา รวมทั้งต้องเกร็งคอ เกร็งตัว หากเกิดเป็นตะคริวหรือกระแสไฟฟ้าในตู้ปลารั่ว อาจจะจมน้ำเสียชีวิตได้ จึงขอเตือนประชาชนไม่ควรทำนู้ดแพลงกิ้งแม้จะไม่เห็นอวัยวะเพศก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่สร้างสรรค์ และไม่ควรกระทำ หากจะทำเล่นที่ห้องนอนส่วนตัวก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ควรนำภาพมาเผยแพร่ในเฟซบุ๊กหรืออินเทอร์เน็ต ซึ่งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ทั้งนี้ สำนักเฝ้าระวังฯ จะทำหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้บล็อกและหาตัวผู้นำภาพดังกล่าวมาโพสต์มาดำเนินคดีด้วย
 “ฝากเตือนให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองช่วยเป็นหูเป็นตาไม่ให้เด็กของเราเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าว หากนำมาเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตจะมีความผิดทางกฎหมายได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคนไทยคงจะไม่ทำนู้ดแพลงกิ้ง เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม กระทบต่อวัฒนธรรมอันดีงามของไทย” น.ส.ลัดดากล่าว
 น.ส.ลัดดากล่าวว่า ขอชื่นชมกลุ่มวัยรุ่นรวมตัวทำพับเพียบไทยแลนด์ออกมาปะทะกับแพลงกิ้ง เด็กกลุ่มนี้ใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสในการสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทย นำมาเผยแพร่ในเฟซบุ๊กเพื่อรณรงค์ให้เด็กเยาวชนไทยเห็นความสำคัญของความเป็นไทย ไม่อิงกระแสตะวันตกมากจนเกินไป.


เป็นแฟนเพจได้ที่

แหล่งที่มา: http://www.thaipost.net/x-cite/210611/40514

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Verb Tense

อาจารย์ไบรอั้นได้สรุปความจากหนังสือของอาจารย์อาซาร์ไว้ว่า ดูเอานะ
Verb Tense Review









กลับไปยังหน้าหลักของ วิชา 890102 Fundamental Reading and Writing เพื่อทบทวนเรื่องอื่น ๆ

20 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ทางด้านการเรียนการสอน ของสหราชอาณาจักร Top Twenty University of UK

อันดับมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ประจำปี 2012 โดยหนังสือพิมพ์ The Guardian โดยดูจากความยอดเยี่ยมของการเรียนการสอน 

ปีที่เขียนคือปีที่นักศึกษาจะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย เช่นอันดับของปี 2012 ก็คืออันดับสำหรับนักเรียนที่จะเรียนมัธยมศึกษาเป็นปีสุดท้ายในปี 2011-12 และจะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยในเดือนกันยายน ปี 2012 ต่อไป


ยู อ๊อฟ เคมบริดจ์ ครับ
อันดับ(2012)  อันดับ(2011) มหาวิทยาลัย         
1                         2              University of Cambridge (Cambridge, England)        
2                         1              University of Oxford (Oxford, England)
3                         4              University of Saint Andrews (Fife, Scotland)
4                         8              LSE, University of London (London, England)
5                         5              UCL, University of London (London, England)
6                         3              University of Warwick (Coventry, England)
7                         6              Lancaster University (Lancaster, England)
8                        17              Durham University (Durham, England)
9                         9              Loughborough University (Loughborough, England)
10                       7              Imperial College (London, England)
11=                    14              University of Exeter (Exeter, England)
11=                    15              University of Sussex (Brighton and Hove, England)
13                      11              SOAS, University of London (London, England)
14                      13              University of Bath (Bath, England)
15                       9              University of York (York, England)
16                      15              University of Edinburgh (Edinburgh, Scotland) 
17                      12              University of Leicester (Leicester, England)
18                      19              University of East Anglia (Norwich, England)
19                      21              University of Nottingham (Nottingham, England)
20                      20              University of Surrey (Guildford, Surrey, England)


ที่มา: http://www.guardian.co.uk/education/table/2011/may/17/university-league-table-2012

อ่านต่อ : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2191357#ixzz1O0s0WHXt

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

World Top Ten Most Well Behaved students ไทยติดท็อปเท็น "นร.มีพฤติกรรมเรียบร้อยมากสุดในห้องเรียน"

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 24 พ.ค.ว่า ผลสำรวจกระทำโดยหน่วยงานเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจหรือโออีซีดี ได้เปิดเผยการอันดับพฤติกรรมความเรียบร้อยในห้องเรียนของนักศึกษาทั่วโลก โดยประเทศที่ครองแชมป์อันดับหนึ่งก็คือ ญี่ปุ่น ส่วนอันดับสองได้แก่ คาซัคสถาน อันดับสามได้แก่ จีน(เซี่ยงไฮ้) อันดับสี่ ได้แก่ ฮ่องกง(จีน) อันดับห้า ได้แก่โรมาเนีย อันดับหกได้แก่ เกาหลีใต้ อันดับเจ็ด ได้แก่ อาร์เซอไบจาน อันดับแปด ไทย อันดับเก้า ได้แก่ อัลบาเนีย และอันดับสิบ ได้แก่ รัสเซีย

ส่วนอันดับอื่นๆ ปรากฎว่า อังกฤษ อยู่ที่อันดับ 28 โดยเหนือกว่า ฝรั่งเศส และอิตาลี

รายงานระบุว่า จากการศึกษานี้ซึ่งกระทำเมื่อปี 2009 พบว่า นักเรียนทั่วโลกมีพฤติกรรมพูดคุยหรือสร้างบรรยากาศขัดจังหวะการสอนของครูอาจารย์ในชั้นเรียนน้อยลง กว่าช่วงปี 2000 โดยนักเรียนในภูมิภาคเอเชีย ถือว่าเป็นกลุ่มที่ติดอันดับมากที่สุด หรือถึงเจ็ดอันดับ ส่วนที่เหลือเป็นยุโรป


นอกจากนี้ ผลการจัดอันดับนี้ยังสร้างพลิกความคาดหมายหลังก่อนหน้านี้มีการวิตกว่า นักเรียนทั่วโลกจะมีพฤติกรรมพูดคุยและเล่นในห้องเรียนมากขึ้นกว่าปี 2000 แต่ผลปรากฎว่า นักเรียนในประเทศต่าง ๆ มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น

รายงานระบุว่า จากการที่นักเรียนจีนติดถึงสองอันดับ คือ เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกง สะท้อนให้เห็นถึงการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจด้านการศึกษาแล้ว




ที่มา - มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306211225&grpid=00&catid=&subcatid=

วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Practice English Everyday เรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง ทำอย่างไรดี

แฟน ๆ ที่ติดตามบล๊อกคงอยากฝึกภาษาอังกฤษทุก ๆ วัน
สิ่งที่ครูเพ็ชรจะนำเสนอวันนี้คือเว็บไวต์ใช้ฝึกภาษาทุก ๆ วันครับ 


อย่าถามเลย ว่าหนูเรียนแบบนี้ดีมั้ยครู ผมเรียนแบบไหนดี
ไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุด สำหรับการเรียนภาษา โดยเฉพาะเราคนไทย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ โอกาสที่จะพูดในโรงเรียน ที่ทำงาน หรือสถานที่สาธารณะก็พูดไทยกันทั้งนั้น แหละครับ


ไม่ใช่ว่าครูกระแดะ อยากให้พูดฝรั่งกันทั้งวันทั้งคืนนะครับ ครูจะบอกว่า ถ้า
1. เธอเรียนแบบงบเยอะ เธอก็เรียนโรงเรียนสองภาษา Bilingual Program หรือ โรงเรียนนานาชาติ International Program
2. แต่ถ้าเธอเป็นลูกคนมีกินมีใช้พอประมาณแบบครูเพ็ชร ก็ต้องขวนขวายเป็นหลายเท่า สมัยก่อนแทบจะเป็นภูมิแพ้ เพราะในห้องสมุดมีแต่หนังสือเก่า ๆ แถมอ่านไปอ่านมา สรุปอะไรไม่ได้


เดี๋ยวนี้เหรอ โอว์ มีสื่อการเรียน ศูนย์เรียนรู้ ครูเก่ง ๆ ที่ใช้สื่อเก่ง ๆ (ไม่ได้หมายความว่าครูที่สอนตอนครูเพ็ชรเป็นนักเรียนไม่เก่งนะ แต่สื่อมันน้องเหลือเกินจร้า)


วิธีการที่ครูแนะนำ มีดังนี้นะครับ
1. เอาประโยคง่าย ๆ ไปครับ แล้วฝึกใช้กับใครก็ได้ที่พอจะฟังเราได้หรือไม่ว่าเรา ถ้าเราจะพูดภาษาอังกฤษกับเค้า


2. แทนคำที่ไม่รู้ด้วยภาษาไทย แต่ภายในวันนั้นให้เราเปิดศัพท์เพื่อที่จะรู้ให้ได้ว่าคำนั้นคืออะไร อ่านว่าอย่างไร


เช่น ครูมักจะให้นักเรียนพูดว่า I go to (ไอ โก ทู) ...... เวลาที่จะบอกว่าไปไหน หรือไปทำอะไร 


สั้น ๆ ก็พอสื่อสารได้แล้ว 


ไปกินข้าวก็ให้พูดว่า I go to eat.
ไปซื้อของก็ให้พูดว่า I go shopping.
ไปที่ไหนให้บอกสถานที่ไปเลยเช่น I go to Robinson Ocean. (ไอ โก ทู โรบินสัน โอเชี่ยน)


ทีนี้ลืมกฏเกณฑ์ไปบ้างในบางครั้ง เพราะสถานการณ์ที่เราพูดมักกดดันให้เราโต้ตอบทันที


การไม่ออกเสียง s หรือ es ในคำนามพหูพจน์ หรือคำกริยา ไม่ใช่จะทำให้ใครเดือดร้อนมากมาย จริงอยู่ ผิดไวยากรณ์อย่างแรง แต่ถ้าเกิดการสื่อความหมายและิอีกฝ่ายเข้าใจ เธอจะไปแคร์อะไรกับความ "เป๊ะ" เพราะครูเห็นหลายราย มัวแต่ "เป๊ะ" แล้วก็เลย "ป๊อด"


อย่ากลัวที่จะแต่งประโยค "ในอากาศ" อันนี้เอาทริคนี้มาจาก Best เป็นเด็ก EP ของ เทศบาลวัดเสมาเมือง ที่ครูเคยสอน ก็เข้าท่าดี เพราะไม่ต้องกังวล พูด พูด ออกมาแล้วจะเกิดความมั่นใจ


ไป๊ร์ กับ เบ็สท์ ที่เรียนภาษาอังกฤษแบบนึกในอากาศ


แหล่งเรียนรู้ภาษาอังกฤษมีมากมายครับ


สำหรับประถม จากประสบการณ์ที่ครูสอน ครูจะใช้ 


1. เกมฝึกภาษาทุกวัย ให้นักเรียนฝึกเอง ส่วนใหญ่แล้วจะได้ผลนะครับ เพราะเด็กชอบเวลาที่ชนะ อะครับ




สำหรับมัธยมต้นขึ้นไปม จากประสบการณ์ที่ครูสอน ครูจะใช้


1.Bangkok Post Learning ให้เด็กอ่านแล้วอาจจะมีคำถามหรือแบบฝึกหัดนะครับ เดี๋ยวนี้เว็บนี้ทันสมัยมากครับ มีหลาย ๆ ส่วนที่เราฝึกเอาได้เลยครับ 


2. Daily English Vocabulary by Bangkok Post
คำศัพท์จะมีคำที่มีความหมายคล้ายกันให้เลือกใช้ด้วยนะ


3. Student Weekly ง่ายและสั้นกว่าการอ่าน Bangkok Post เหมาะสำหรับให้นักเรียน ม.ต้น และ ม.ปลาย อ่าน ส่วนใหญ่ตอนที่ครูเรียน จะอ่านเล่มอะครับ และชอบอ่าน Horoscope


4. นสพ.คอม ข่าวภาษาอังกฤษ ข่าวเด่นรอบโลก ข่าวในญี่ปุ่น


5. The Flatmate by BBC
อันนี้ของชอบครูเลยครับ เพราะเป็นสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ค่อนไปทาง Business English และภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนสายอาชีวศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัย และวัยทำงานแล้ว


6. บล๊อกฝึกอ่านภาษาอังกฤษ ของ BBC ฝึกอ่านบล๊อกคนอื่นและเรียนรู้วิธีการ
เขียนบล๊อกเป็นภาษาอังกฤษ



เรียนรู้การใช้ชีวิตที่หลาย ๆ คนที่อยู่ต่างแดนสะท้อนให้เราเห็น น่าสนใจมาก